มาทำความรู้จักกับ DLSS 2.0 ของเอ็นวิเดียกันครับว่ามีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
เทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังเข้ามาปฏิวัติการเล่นเกม ไม่ว่าจะเป็นการจำลองทางฟิสิกส์ในเกม, การเคลื่อนไหวของตัวละครภายในเกมไปจนถึงการเรนเดอร์แบบเรียลไทม์ (real-time rendering) และแม้กระทั่งในงานด้านบรอดแคสก็ยังมีการนำ AI เข้ามาช่วย และตอนนี้เทคโนโลยี Deep Learning Super Sampling (DLSS) ของ NVIDIA ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สร้างอยู่บนพื้นฐานของระบบ AI ก็กำลังจะเข้ามาเปลี่ยนนิยามใหม่ของการเรนเดอร์แบบเรียลไทม์ ซึ่งคุณสมบัตินี้จะมาพร้อมกับกราฟิกชิปในตระกูล RTX (ทั้ง GeForce RTX และ Quadro RTX) โดยกราฟิกชิปในตระกูล RTX จะมาพร้อมกับฮาร์ดแวร์พิเศษที่ชื่อว่า Tensor Core ที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลชุดคำสั่งทางด้าน AI โดยเฉพาะ

ทาง NVIDIA ได้เปิดตัวเทคโนโลยี DLSS ครั้งแรกเมื่อราวปี 2018 ซึ่งในการเปิดตัวครั้งแรกนั้นยังมีเกมไม่มากนักที่รองรับ นอกจากนี้ DLSS ในยุคแรกนั้นแม้จะช่วยให้ได้เฟรมเรตในเกมเพิ่มมากขึ้นแต่ว่ารายละเอียดของภาพบางส่วนก็ยังไม่สามารถเทียบกับการเรนเดอร์ในรูปแบบปกติได้ แต่ด้วยข้อดีของ DLSS ที่สร้างอยู่บนพื้นฐานของ AI และ Deep Learning ทำให้ความสามารถในการเรนเดอร์ของ DLSS นั้นถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยเมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมากทาง NVIDIA ก็ได้ประการเปิดตัว DLSS 2.0 ออกมา ซึ่งมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นกว่าเดิมทั้งในด้านของเฟรมเรตที่ดีกว่าเดิมถึง 2 เท่า และยังมาพร้อมกับคุณภาพของภาพที่ดีเทียบเท่ากับการเรนเดอร์ด้วยวิธีการปกติอีกด้่วย
คุณสมบัติใหม่ของ DLSS 2.0
DLSS 2.0 ปรับปรุงคุณภาพของภาพให้ดีขึ้น: ปกติแล้วเราจะรู้จัก DLSS ในแง่ของการอัปสเกลภาพเพียงอย่างเดียว แต่ใน DLSS 2.0 นี้แม้ในการเรนเดอร์ภาพด้วยความละเอียดปกติ (Native resolution) ก็ยังสามารถใช้คุณสมบัตินี้ได้และช่วยให้ภาพมีความสวยงามได้โดยใช้เทคนิคใหม่ที่ชื่อว่า Temporal accumulation ซึ่งจะมีการเรียกใช้จำนวนพิเซลเพียงครึ่งเดียวแล้วทำการเรนเดอร์ส่วนที่ขาดหายไปด้วย AI จนทำให้ได้ภาพที่สมบูรณ์มีความคมชัดเทียบเท่าหรืออาจจะสูงกว่าในบางกรณี พร้อมกันนั้นก็ยังให้เฟรมเรตที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
DLSS 2.0 ประสิทธิภาพได้สูงกว่าเดิม 2 เท่า: ในการ์ดจอ NVIDIA RTX ทั้งหมดจะมีฮาร์ดแวร์ที่ชื่อว่า Tensor Core ซึ่งทำหน้าที่ในการประมวลผลทางด้าน AI โดยเฉพาะ และ DLSS นี้ก็เป็นหนึ่งในงานด้าน AI เช่นกัน อย่างไรก็ดีใน DLSS รุ่นแรกนั้นเราสามารถเปิดใช้งานได้กับเฉพาะกับเกมนั้นจะทำงานได้ รวมไปถึงกราฟิกชิปรุ่นเล็กอย่าง RTX 2060 ก็ไม่สามารถเปิดใช้งานได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ด้วย DLSS 2.0 ที่มีการพัฒนาระบบ AI มาใหม่ ทำให้ลดการใช้ทรัพยากรทางด้านฮาร์ดแวร์ลงอย่างมาก นั่นช่วยให้กราฟิกชิป RTX เดิมทุกรุ่น รวมไปถึง RTX รุ่นเล็กก็สามารถเปิดใช้คุณสมบัติ DLSS ในเกมได้อย่างสมบูรณ์ในทุก ๆ ความละเอียดของการแสดงผล
DLSS 2.0 พร้อม AI ใหม่ทำงานได้กับทุกเกม: DLSS รุ่นเดิมนั้นเวลาจะนำไปใช้ผู้พัฒนาเกมและเอ็นวิเดียจะต้องร่วมกันพัฒนาชุด AI ออกมาโดยเฉพาะสำหรับใช้งานกับเกมนั้น ๆ ซึ่งส่งผลให้การพัฒนาเกมเป็นไปอย่างล่าช้า แต่สำหรับ DLSS 2.0 เครือข่ายทางด้าน AI ได้ถูกออกแบบมาให้หมด ทำให้ระบบสามารถเรียนรู้ชนิดของข้อมูลกราฟิกต่าง ๆ ในเกมได้มากขึ้น ทำให้ DLSS 2.0 ทำงานร่วมกับเกมได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น แต่แน่นอนว่าเกมนั้นจะต้องพัฒนาด้วยชุดเครื่องมือของเอ็นวิเดียด้วย ซึ่งในตอนที่เปิด DLSS 2.0 นี้ทางเอ็นวิเดียเองก็มีการเปิดตัว Toolkit สำหรับการสร้างเท็กซ์เจอร์แบบพิเศษออกมาพร้อม ๆ กันด้วย
DLSS 2.0 กับการปรับแต่งได้มากขึ้น: การใช้งาน DLSS นั้นสามารถถูกปรับแต่งได้มากกว่าเดิมคือ Performance (เน้นเฟรมเรต), Balance (สมดุลระหว่างเฟรมเรตกับคุณภาพของภาพ) และ Quality (เน้นไปที่คุณภาพของภาพเป็นหลัก) ซึ่งตรงนี้จะไปสอดคล้องกับความแรงของการ์ดจอในแต่ละรุ่นด้วย ทำให้ผู้ใช้การ์ดจอที่ต่างกันสามารถปรับให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการได้

DLSS 2.0 ทำงานอย่างไร
DLSS 2.0 ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยการใช้ Neural Graphics Framework, NGX, โดยเครือข่ายโครงข่ายประสาทส่วนกลางแบบลึกของ DLSS ได้รับการฝึกฝนบนซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ NVIDIA DGX การที่เทคนิค DLSS 2.0 จะสามารถเรียนรู้เพื่อการสร้างภาพที่มีความคมชัดได้ก็จำเป็นที่จะต้องมีการฝึกให้ AI เรียนรู้วิธีที่จะสร้างภาพที่มีความคมชัดขึ้นแบบอัตโนมัติ

DLSS 2.0 มีสองอินพุตหลักเข้าสู่เครือข่าย AI:
- ภาพความละเอียดต่ำ. โดยเป็นภาพที่เรนเดอร์โดยใช้เอ็นจิ้นของเกม
- ภาพความละเอียดต่ำ, เวกเตอร์เคลื่อนไหว (motion vectors) จากรูปภาพเดียวกัน – ที่สร้างโดยเอ็นจิ้นของเกมเช่นกัน
motion vectors จะบอกกับเราว่าวัตถุทิศทางใดในฉากที่กำลังเคลื่อนที่จากเฟรมหนึ่งไปอีกเฟรมหนึ่ง เราสามารถใช้เวกเตอร์เหล่านี้กับเอาท์พุทความละเอียดสูงก่อนหน้านี้เพื่อประเมินว่าเฟรมถัดไปจะเป็นอย่างไร เราอ้างถึงกระบวนการนี้ว่า “temporal feedback” ซึ่งจะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะใช้เป็นข้อมูลสร้างต่อไปในอนาคต
เครือข่าย AI ชนิดพิเศษที่เรียกว่า Convolutional autoencoder จะใช้เฟรมปัจจุบันที่มีความละเอียดต่ำและเฟรมที่มีความละเอียดสูงก่อนหน้านี้เพื่อพิจารณาบนพื้นฐานพิกเซลต่อพิกเซลเพื่อนำมาหาวิธีสร้างเฟรมปัจจุบันที่มีคุณภาพสูงขึ้น
ในระหว่างกระบวนการฝึกอบรมภาพที่ได้จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับภาพออฟไลน์เรนเดอร์ภาพอ้างอิง 16K คุณภาพสูงพิเศษและความแตกต่างจะถูกสื่อสารกลับเข้าไปในเครือข่ายเพื่อให้สามารถเรียนรู้และปรับปรุงผลลัพธ์ต่อไปได้ กระบวนการนี้เกิดขึ้นซ้ำ ๆ หลายหมื่นครั้งบนซูเปอร์คอมพิวเตอร์จนกระทั่งเครือข่ายส่งออกภาพที่มีคุณภาพและความละเอียดสูงได้อย่างน่าเชื่อถือ
เมื่อเครือข่าย NGX ได้รับการฝึกอบรมจนสำเร็จก็จะส่งมอบโมเดล AI ให้กับพีซีหรือโน้ตบุ๊กที่ใช้กราฟิก GeForce RTX ของคุณผ่านไดร์เวอร์ Game Ready และการอัปเดท OTA ด้วย Tensor Cores ของ Turing ที่ให้ประสิทธิภาพสูงถึง 110 teraflops โดยเฉพาะประสิทธิภาพด้าน AI ทำให้เครือข่าย DLSS สามารถทำงานแบบเรียลไทม์พร้อมกันกับเกม 3 มิติที่เข้มข้น ซึ่งเรื่องแบบนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยก่อนที่จะมีสถาปัตยกรรม Turing และ Tensor Core ของ NVIDIA
ภาพตัวอย่างเปรียบเทียบของเกมที่เคยใช้เทคโนโลยี DLSS รุ่นแรกกับ DLSS 2.0




จากภาพทั้งหมดนี้เราจะเห็นได้ว่า DLSS 2.0 ซึ่งมีพื้นฐานมาจากระบบ AI นั้นสามารถทำงานได้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก และยิ่งนานวันระบบของ DLSS 2.0 ก็จะยิ่งฉลาดขึ้นและทำงานได้เร็วยิ่งขึ้นไปอีก เพราะในขณะที่เรากำลังอ่านบนความนี้อยู่ในทุก ๆ วินาที NGX แพลตฟอร์มก็กำลังเรียนรู้ข้อมูลใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลานั่นเอง
เกม DEATH STRANDING ที่มาพร้อมกับ DLSS 2.0 เต็มรูปแบบ
Hideo Kojima และ KOJIMA PRODUCTIONS ของเขาได้ทำการเปิดตัวเกมบนแพลตฟอร์มพีซีที่ชื่อว่า “DEATH STRANDING” โดยเกมนี้ได้มีการนำเทคโนโลยี NVIDIA DLSS 2.0 มาใช้งานอย่างเต็มรูปแบบ เกม DEATH STRANDING ให้ผู้เล่นสมบทบาทเป็น Sam Bridges กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นอนาคตอันใกล้นี้ การระเบิดอย่างลึกลับได้ก่อให้เกิดเหตุการณ์เหนือธรรมชาติที่รู้จักกันในชื่อ DEATH STRANDING และทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตที่เป็นเหมือนผีทำให้ภูมิทัศน์และโลกใกล้จะสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ โดย Sam Bridges จะทำหน้าเดินทางข้ามดินแดนรกร้างที่ถูกทำลายเพื่อช่วยมนุษยชาติจากการทำลายล้างที่กำลังจะเกิดขึ้น ตัวเกมนี้ถูกเรนเดอร์โดย Guerrilla Games และใช้เอนจิ้นเกมที่ชื่อว่า Decima Engine ซึ่งเน้นในเรื่องของความสมจริงของภาพต่าง ๆ เป็นหลัก และเมื่อเกมนี้มาอยู่บนพีซีและมีการใช้เทคโนโลยี NVIDIA DLSS 2.0 ก็ยิ่งทำให้เกมนี้มีกราฟิกที่มีความสมจริงมากที่สุดกว่าที่เคยเป็นมาบนแพลตฟอร์มอื่น ๆ
คุณภาพของภาพในเกม DEATH STRANDING เมื่อเปิดใช้ DLSS 2.0

คลิกที่ลิงก์ เพื่อดูตัวอย่างภาพแบบเต็มจอ
- https://www.nvidia.com/en-us/geforce/comparisons/death-stranding-nvidia-dlss-2-0-comparison-001/
- https://www.nvidia.com/en-us/geforce/comparisons/death-stranding-nvidia-dlss-2-0-comparison-002/
- https://www.nvidia.com/en-us/geforce/comparisons/death-stranding-nvidia-dlss-2-0-comparison-003/
ภาพสวยขึ้นเฟรมเรตสูงขึ้นด้วยเทคโนโลยี DLSS 2.0
ในเกม DEATH STRANDING, NVIDIA DLSS 2.0 มอบการปรับปรุงประสิทธิภาพสูงถึง 48% ในโหมดคุณภาพในการทดสอบของเรา และการปรับปรุงสูงถึง 90% ในโหมดประสิทธิภาพทำให้ GeForce RTX 2060 สามารถรันที่ 60 FPS ที่ 4K ที่การตั้งค่าสูงสุดบน benchmark ของเรา ดังที่คุณเห็นในผลการทดสอบด้านล่าง DLSS 2.0 มอบประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างมากให้กับ GeForce RTX ทั้งหมดซึ่งมอบประสบการณ์ที่เหนือกว่าแก่ผู้เล่นเกม DEATH STRANDING บนพีซี





